วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

10 วิธีป้องกันภัยจากอินเตอร์เนตสำหรับเด็กและเยาวชน



10 วิธีป้องกันภัยจากอินเตอร์เนตสำหรับเด็กและเยาวชน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เนตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการว่า ในประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรวมประมาณ 4.5 ล้านคน โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน และแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย แต่ก็มีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งการเกิดปัญหาการล่อลวงเด็กและก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อล่อลวงเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการล่อลวงไปข่มขืน ทำอนาจาร หรือแม้แต่การลักพาตัวไป โดยเฉพาะการพูดคุยในห้องแชตรูมผ่านอินเทอร์เน็ต ที่นำไปสู่การนัดพบกันของคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน รวมทั้งเนื้อหาที่นำเสนอในหน้าเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกมีจำนวนไม่น้อยที่นำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก เช่น เนื้อหาทางเพศ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง หรือการเสนอขายสินค้าที่ไม่เหมาะสมหรือส่งเสริมการใช้ความรุนแรง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหา ควรได้รับความร่วมมือด้วยกันทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองควรสอดส่องดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของเยาวชนอย่างใกล้ชิด และให้คำแนะนำในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ปกครองก็คือ ความแตกต่างระหว่างความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งจัดว่าเป็น Digital Divide อีกประเภทหนึ่งที่ต้องพิจารณาและทำให้ผู้ปกครองต้องหันมากระตุ้นเตือนตนเองให้เร่งหันมาศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาวะความเสี่ยงจากภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชนหรือลูกหลาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมแนวทางในการป้องกันปัญหาในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้กับกลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มมเยาวชน ดังนี้ ในส่วนของผู้ปกครองทำได้คือ
1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเทอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และให้ร้องขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่ หรือรหัสผ่านที่เป็นความลับกับผู้ที่ไม่เคยรู้จัก หรือเริ่มรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว กลุ่มเยาวชน
7. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ที่ทำงาน หรือเบอร์ที่ทำงาน ของผู้ปกครองให้แก่บุคคลอื่น ที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
8. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูล หรือรูปภาพใด ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
9. ไม่ไปพบบุคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
10. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใด ๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้ขออนุญาติจากผู้ปกครองก่อน

วิธีป้องกันภัยที่มากับอินเตอร์เน็ต

วิธีป้องกันภัยที่มากับอินเตอร์เน็ต
ระมัดระวังในการติดต่อทำความรู้จักบุคคลทางอินเตอร์เน็ต ไม่ควรทำผิดกฎหมายซึ่งมีหลายฉบับมีโทษปรับ หรือจำคุก การนำความรู้ที่ได้มาใช้ควรมีการกลั่นกรองให้ถูกต้อง ไม่ควรเชื่ออะไรง่าย ๆ ระมัดระวังการทำธุรกิจทางการเงิน การลงทุน การชื้อขายทางอินเตอร์เน็ต จ่ายเงินโดยบัตรเครดิต ศึกษาหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ต้องคิดพิจารณาไตร่ตรอง คิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ไตร่ตรองให้รอบคอบ ข้อมูลบนอินเตอร์มีทั้งที่เป็นข้อมูลจริง ข้อมูลเท็จ ดังนั้นผู้ใช้พึงระมัดระวัง

เรื่องผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)

เรื่องผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)

เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเตอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)

โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)

อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems)

และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า
มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
• รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
• มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
• ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
• รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
• ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
• หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
• การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
• มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
• ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า “ติดอินเตอร์เน็ต” ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า “ติดอินเตอร์เน็ต” นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

My Calender